รู้จัก “ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน” นวัตกรรมที่พัฒนามาจากการติดตั้ง GPS

ติดตั้ง GPS

Categories :

            เมื่อพูดถึงการติดตั้ง GPS หลายคนอาจนึกถึงเพียงแค่อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำทาง แต่ความเป็นจริงแล้วมันสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อีกมาก ตัวอย่างเช่น ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน (EMERGENCY SYSTEM) ที่จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักผ่านบทความนี้

ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินกับการติดตั้ง GPS

            เดิมทีเวลาติดตั้ง GPS จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์นำทาง และอุปกรณ์แสดงพิกัดตำแหน่งแบบเรียลไทม์ แต่เมื่อถูกพัฒนาให้เป็นระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินแล้ว ก็จะมีอุปกรณ์บันทึกภาพ และระบบการขอความช่วยเหลือที่ทำงานแบบเรียลไทม์เพิ่มเข้ามาด้วย

โดยหลักการทำงานระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน คือ

1. เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น อุบัติเหตุ ภัยพิบัติ การก่อการร้าย เหตุจราจล ฯลฯ ในบริเวณที่ติดตั้งระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน ผู้ใช้งานสามารถกดปุ่มขอความช่วยเหลือ และพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้ทันที ผ่านระบบ INTERCOM

2. ตำแหน่งที่อยู่ และรายละเอียดต่าง ๆ ที่ถูกเก็บบันทึกจากการติดตั้ง GPS จะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ควบคุมปลายทางแบบอัตโนมัติ (Control Room)

3. เจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ควบคุมจะคัดกรองเหตุการณ์ และส่งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ). สถานีตำรวจ โรงพยาบาล หน่วยงานดับเพลิง เป็นต้น เพื่อให้ไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุตามข้อมูลที่ได้รับมา

4. ตลอดเวลาที่ติดต่อขอความช่วยเหลือจนถึงขั้นตอนการรอรับความช่วยเหลือ ที่บริเวณตู้แจ้งเหตุมักจะออกแบบให้มีระบบไฟส่องสว่าง เพื่อให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ มองเห็นผู้ประสบเหตุได้ง่ายขึ้น จึงสามารถมั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ความช่วยเหลือก็จะไปถึง

                จากข้อมูลดังกล่าว เห็นได้ว่าการมีระบบแจงเหตุฉุกเฉินที่พัฒนาต่อยอดมาจากติดตั้ง gps ในลักษณะนี้ จะช่วยให้ผู้ประสบเหตุไม่ต้องคอยอธิบายลักษณะจุดเกิดเหตุ หรือรายละเอียดอื่นใดมากนัก จึงช่วยร่นระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสการรอดชีวิตก็มีเพิ่มมากขึ้นด้วย

สถานที่ใดบ้างที่ควรติดตั้งระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน

                ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินสามารถนำไปติดตั้งได้ทุกที่ ทั้งย่านชุมชนที่มีคนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก เช่น สวนสาธารณะ โรงเรียน โรงงาน เป็นต้น เพราะมีโอกาสเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ตลอดเวลา พื้นที่ที่ห่างไกลบ้านเรือนประชาชน เช่น ถนนเลี่ยงเมือง หมู่บ้านที่ห่างไกลตัวเมือง เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความอุ่นใจให้ผู้ที่ต้องขับรถผ่านเส้นทางนั้น รวมถึงภายในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น โดยจะไปติดตั้งเสริมกับการติดตั้ง GPS ที่มีอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว หรือจะไปติดตั้งใหม่ทั้งระบบก็ได้เช่นกัน

ติดตั้งระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินโดย DTC

                สำหรับการติดตั้งระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินพร้อมๆ กับการติดตั้ง gps นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะ DTC ผู้นำอันดับหนึ่งด้าน GPS และ IoT Solutions ในประเทศไทยก็มีให้บริการ และมีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

EMERGENCY SYSTEM by DTC  มาพร้อมคุณสมบัติพิเศษ ได้แก่

1. สามารดูภาพเหตุการณ์ปัจจุบันได้พร้อมกันถึง 4 กล้อง

2. สามารถส่งข้อความขอความช่วยเหลือเพื่อแจ้งเหตุได้

3. สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ผ่านระบบ INTERCOM ได้

4. มีการติดตั้ง GPS ระบุตำแหน่งที่แจ้งเหตุ

5. สามารถดูเหตุการณ์ย้อนหลังจากไฟล์ที่บันทึกเก็บไว้ได้

6. รองรับการดูข้อมูลได้ทั้งในคอมพิวเตอร์ แล็บท็อป แท็บเล็ต และ โทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน

7. มีห้องควบคุม (Control Room) ที่ออกแบบ กำหนดค่า และติดตั้ง เข้ากับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่ายต่าง ๆ แบบครบวงจร

8. พร้อมรับแจ้งเหตุและช่วยประสานงานกับหน่วยงานให้ความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้อง ผ่านทางระบบ SOS Application

บทสรุป

                ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ทำให้เห็นว่าการติดตั้ง GPS นั้นมีประโยชน์มากกว่าแค่การนำทาง แต่ยังเป็นผู้ช่วยคนสำคัญในชีวิตได้อีกด้วย สนใจติดตั้งระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินที่ครบวงจรแบบนี้ได้ที่ DTC คลิก https://www.dtc.co.th/